เมนู

4. เป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาดไม่ทะลุ
ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ.

[242] สามัญญผล 4


1. โสดาปัตติผล
2. สกทาคามิผล
3. อนาคามิผล
4. อรหัตผล.

[243] ธาตุ 4


1. ปฐวีธาตุ ธาตุดิน
2. อาโปธาตุ ธาตุน้ำ
3. เตโชธาตุ ธาตุไฟ
4. วาโยธาตุ ธาตุลม.

[244] อาหาร 4


1. กวฬิงการาหาร อาหารคือ คำข้าวทั้งหยาบและละเอียด
2. ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ
3. มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา
4. วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ.

[245] วิญญาณฐิติ 4


1. ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งรูปเมื่อตั้งอยู่ ย่อม
ตั้งอยู่ วิญญาณนั้นมีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่ง

ความยินดี ย่อมถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์
2. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งเวทนา...
3. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสัญญา...
4. วิญญาณที่เข้าถึงซึ่งสังขาร เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ วิญญาณนั้น
มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นที่พำนัก เข้าไปเสพซึ่งความยินดี ย่อม
ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์.

[246] การถึงอคติ 4


1. ฉันทาคติ ถึงความลำเอียงเพราะความรักใคร่
2. โทสาคติ ถึงความลำเอียงเพราะความโกรธ
3. โมหาคติ ถึงความลำเอียงเพราะความหลง
4. ภยาคติ ถึงความลำเอียงเพราะความกลัว.

[247] เหตุเกิดขึ้นแห่งตัณหา


1. ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งจีวร
2. ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งบิณฑบาต
3. ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งเสนาสนะ
4. ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะเหตุแห่งความต้องการ
ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

[248] ปฏิปทา 4


1. ทุกขปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
2. ทุกขปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว